ข้อมูลทั่วไปตำบล
๑ สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
๑. ด้านกายภาพ
๑.๑ ที่ตั้ง
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลวาวี จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 มีลักษณะที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอแม่สรวย ในการเดินทางเส้นทางหลักระยะห่างจากตัวอำเภอแม่สรวยเท่ากับ 30 กิโลเมตร และห่างจากตัวจังหวัดเชียงราย 75 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 359 ตารางกิโลเมตรหรือคิดเป็น 224,375 ไร่
ทิศเหนือ ติดกับ ต.ห้วยชมภู อ.เมือง จ.เชียงราย , ต.แม่นาวาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
ทิศตะวันออก ติดกับ ต.ห้วยชมภู อ.เมือง จ.เชียงราย
ทิศตะวันตก ติดกับ ต.ป่าแดด อ.แม่สรวย จ.เชียงราย,ต.บ้านหลวง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
ทิศใต้ ติดกับ ต.แม่สรวย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาและบางส่วนเป็นที่ราบเชิงเขา สลับกับป่าดงดิบ
๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ
เป็นแบบมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาว โดยอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดต่อปี 12 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดต่อปี 37.7 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี ประมาณ 1,805 มิลลิเมตร ลักษณะทั่วไปเป็นเทือกเขาสูง มีความลาดชันประมาณ 30-45 องศา ทอดตัวยาวในแนวเหนือ – ใต้ พื้นที่ลาดอียงไปทางทิศตะวันตก และตะวันออก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 300 - 1,000 เมตร มี 3 ฤดูคือ
- ฤดูร้อน ระหว่างเดือน มีนาคม – เมษายน
- ฤดูฝน ระหว่างเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม
- ฤดูหนาว ระหว่างเดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
เนื่องจากพื้นที่ตำบลวาวีส่วนใหญ่จะอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล (๗๐๐ - ๒,๐๐๐ เมตร) ยังอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากกว่าส่วนอื่นของประเทศ ทำให้มีลักษณะเด่นอยู่อย่างหนึ่งคือ อากาศจะหนาวเย็นกว่าในพื้นที่อื่น โดยทั่วไปการที่ให้ความสำคัญแก่ลักษณะอากาศมากกว่าปัจจัยอื่นๆ ก็เพราะว่า ลักษณะของดิน สภาวะของฝนและเรื่องอื่นๆ เช่น ลมพายุนั้น เป็นเรื่องที่จะป้องกันแก้ไข หรือปรับปรุงได้พอสมควร แต่เรื่องของลักษณะอากาศนั้น ยากต่อการเปลี่ยนแปลงที่สูงบางแห่ง นั้น จะมีอุณหภูมิในฤดูหนาว ต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียส ระยะที่มีอากาศหนาว จนถึงหนาวจัดนั้น จะเริ่มประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน และจะหนาวไปจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์เป็นอย่างน้อย และถึงแม้จะเป็นฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมก็ตาม อากาศในตอนกลางคืนก็จะยังเย็นจนถึงหนาว
๑.๔ ลักษณะของดิน
ลักษณะของดิน ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขา มีความลาดชันมากกว่า 35% ดินที่พบทั้งดินลึกและตื้นลักษณะเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นกำเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหิน ก้อนหิน หรือหินพื้นโผล่ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภทต่างๆ เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง หรือป่าดิบชื้น หลายแห่งมีการทำไร่เลื่อนลอย โดยปราศจากมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งเป็นผลให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน จนบางแห่งเหลือแต่หินพื้นโผล่ ได้แก่ ชุดดินที่ลาดชันเชิงซ้อน (Sc:Slope complex) ทางหลักวิชาการไม่แนะนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เนื่องจากมีปัญหาหลายประการที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศและควรสงวนไว้เป็นป่าตามธรรมชาติ เพื่อรักษาแหล่งต้นน้ำลำธาร ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ภูเขาลาดชัน มีการกัดกร่อนของดินได้ง่าย ความเหมาะสมของดินสำหรับการปลูกพืช เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงมีความลาดชัน จึงมีลักษณะพิเศษของอากาศบนที่สูงนี้ ทำให้สามารถปลูกพืชที่ชอบอากาศหนาวได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ที่เป็นประโยชน์ในด้านป่าไม้ ไม้ผล พืช ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ หรือพืชไร่ พืชที่เราไม่เคยปลูกได้มาก่อน ก็สามารถปลูกได้เป็นการค้า
๑.๕ ลักษณะของแหล่งน้ำ
เป็นน้ำประปาภูเขาที่ชุมชนใช้ในการอุปโภคบริโภคและใช้ในการเกษตรกรรมทั้งตำบล ลักษณะเป็นแม่น้ำหรือลำธารไหลผ่านบางหมู่บ้านเป็นลำห้วย หนอง บึง
๑.๖ ลักษณะของไม้และป่าไม้
ป่าดิบชื้นบางพื้นที่ เช่น บ้านแม่โมงเย้า มังกาล่า ปางกิ่ว ดอยช้าง
ป่าเบญจพรรณ เช่น บ้านแสนเจริญ ดอยล้าน ดอยช้าง บ้านใหม่พัฒนา บางพื้นที่จะเป็น
ป่าเสื่อมโทรม เช่น ทุ่งพร้าว ห้วยขี้เหล็ก
๒. ด้านการเมืองการ/การปกครอง
๒.๑ เขตการปกครอง
ตำบลวาวีมี 27 หมู่บ้าน ที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวาวี โดยแยกพื้นที่การปกครอง ดังนี้
หมู่ที่ 1 วาวี หมู่ที่ 14 ขุนสรวย
หมู่ที่ 2 ปางกิ่ว หมู่ที่ 15 แม่โมงเย้า
หมู่ที่ 3 ดอยช้าง หมู่ที่ 16 ย่านำ
หมู่ที่ 4 ดอยล้าน หมู่ที่ 17 ผาแดงหลวง
หมู่ที่ 5 ห้วยมะซาง หมู่ที่ 18 บ้านห้วยกล้า
หมู่ที่ 6 ห้วยขี้เหล็กใหม่ หมู่ที่ 19 จู้จี้
หมู่ที่ 7 ทุ่งพร้าวลาหู่ หมู่ที่ 20 เลาลี
หมู่ที่ 8 ทุ่งพร้าวกะเหรี่ยง หมู่ที่ 21 ห้วยน้ำอุ่น
หมู่ที่ 9 ห้วยขี้เหล็กเก่า หมู่ที่ 22 มังกาล่า
หมู่ที่ 10 แสนเจริญ หมู่ที่ 23 ปางกุเส็ง
หมู่ที่ 11 ห้วยน้ำเย็น หมู่ที่ 24 ปางกลาง
หมู่ที่ 12 โป่งกลางน้ำ หมู่ที่ 25 ใหม่พัฒนา
หมู่ที่ 13 ห้วยไคร้ หมู่ที่ 26 ดอยช้างลีซู
หมู่ที่ 27 ดอยช้างใหม่
๓. ประชากร
๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
ตารางแสดงจำนวนประชากรย้อนหลัง 3-5 ปี (พ.ศ.2560-2564) และที่คาดการณ์ในอนาคต
หมู่ที่ |
จำนวนประชากร |
คาดการณ์ในอนาคต |
จำนวน/ครัวเรือน |
คาดการณ์ในอนาคต |
||||||||
2560 |
2561 |
2562 |
2563 |
2564 |
2565 |
2560 |
2561 |
2562 |
2563 |
2564 |
2565 |
|
1 |
2,892 |
2,943 |
2,916 |
2,916 |
2,883 |
2,887 |
1,207 |
1,245 |
1,247 |
1,248 |
1,256 |
1,260 |
2 |
785 |
763 |
762 |
752 |
751 |
755 |
355 |
356 |
358 |
359 |
358 |
362 |
3 |
3,810 |
3,957 |
3,984 |
2,116 |
2,157 |
2,161 |
1,181 |
1,243 |
1,252 |
1,253 |
869 |
873 |
4 |
781 |
794 |
796 |
805 |
805 |
809 |
270 |
288 |
290 |
291 |
310 |
314 |
5 |
1,334 |
1,374 |
1,369 |
1,362 |
1,350 |
1,354 |
514 |
518 |
520 |
521 |
524 |
528 |
6 |
1,059 |
1,081 |
1,087 |
1,098 |
1,122 |
1,126 |
352 |
372 |
386 |
387 |
400 |
404 |
7 |
1,258 |
1,219 |
1,224 |
1,221 |
1,194 |
1,198 |
416 |
422 |
423 |
424 |
425 |
429 |
8 |
469 |
467 |
466 |
461 |
468 |
472 |
178 |
182 |
183 |
184 |
190 |
194 |
9 |
510 |
498 |
498 |
492 |
492 |
496 |
181 |
180 |
182 |
183 |
182 |
186 |
10 |
1,026 |
1,038 |
1,043 |
1,035 |
1,033 |
1,037 |
337 |
339 |
342 |
343 |
348 |
352 |
11 |
755 |
775 |
779 |
795 |
794 |
798 |
205 |
219 |
221 |
222 |
228 |
228 |
12 |
1,930 |
1,943 |
1,941 |
1,946 |
1,950 |
1,954 |
524 |
541 |
542 |
543 |
590 |
594 |
13 |
1,203 |
1,248 |
1,243 |
1,251 |
1,249 |
1,253 |
345 |
363 |
362 |
363 |
372 |
376 |
14 |
727 |
758 |
757 |
760 |
754 |
758 |
199 |
215 |
215 |
216 |
243 |
247 |
15 |
362 |
373 |
371 |
381 |
394 |
398 |
95 |
96 |
96 |
97 |
97 |
101 |
16 |
568 |
584 |
586 |
593 |
601 |
605 |
153 |
158 |
159 |
160 |
165 |
169 |
17 |
438 |
448 |
452 |
456 |
455 |
459 |
123 |
126 |
127 |
128 |
128 |
132 |
18 |
567 |
555 |
558 |
554 |
538 |
542 |
161 |
163 |
164 |
165 |
168 |
174 |
19 |
879 |
924 |
927 |
947 |
955 |
959 |
250 |
264 |
266 |
267 |
285 |
289 |
20 |
1,173 |
1,184 |
1,175 |
1,175 |
1,162 |
1,166 |
284 |
294 |
295 |
296 |
300 |
304 |
21 |
605 |
615 |
618 |
620 |
621 |
625 |
126 |
131 |
132 |
133 |
134 |
138 |
22 |
438 |
437 |
437 |
442 |
444 |
448 |
109 |
115 |
117 |
118 |
122 |
126 |
23 |
448 |
475 |
486 |
509 |
517 |
521 |
127 |
131 |
132 |
133 |
140 |
144 |
24 |
518 |
527 |
526 |
523 |
529 |
533 |
117 |
121 |
121 |
122 |
127 |
131 |
25 |
490 |
498 |
504 |
508 |
503 |
507 |
114 |
116 |
117 |
118 |
120 |
124 |
26 |
- |
- |
- |
767 |
762 |
766 |
- |
- |
- |
111 |
213 |
217 |
27 |
- |
- |
- |
1,133 |
1,169 |
1,173 |
- |
- |
- |
172 |
236 |
240 |
รวม |
25,260 |
25,478 |
25,505 |
25,618 |
25,652 |
25,760 |
7,923 |
8,198 |
8,249 |
8,557 |
8,530 |
8,636 |
ข้อมูลจาก : สำนักงานทะเบียนราษฎร์อำเภอแม่สรวย
จำนวนประชากรจากทะเบียนบ้าน ตรวจสอบข้อมูลแยกรายพื้นที่ ระดับตำบล/แขวง
เขตพื้นที่ ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เดือน พฤษภาคม 2564
พื้นที่ |
ชาย |
หญิง |
รวม |
หมู่ที่ 1 วาวี |
1,455 |
1,428 |
2,883 |
หมู่ที่ 2 ปางกิ่ว |
382 |
369 |
751 |
หมู่ที่ 3 ดอยช้าง |
1,155 |
1002 |
2,157 |
หมู่ที่ 4 ดอยล้าน |
403 |
402 |
805 |
หมู่ที่ 5 ห้วยมะซาง |
703 |
647 |
1,350 |
หมู่ที่ 6 ห้วยขี้เหล็กใหม่ |
590 |
532 |
1,122 |
หมู่ที่ 7 ทุ่งพร้าว |
635 |
559 |
1,194 |
หมู่ที่ 8 ทุ่งพร้าว |
241 |
227 |
468 |
หมู่ที่ 9 ห้วยขี้เหล็กเก่า |
243 |
249 |
492 |
หมู่ที่ 10 แสนเจริญ |
503 |
530 |
1,033 |
หมู่ที่ 11 ห้วยน้ำเย็น |
389 |
405 |
794 |
หมู่ที่ 12 โป่งกลางน้ำ |
980 |
970 |
1,950 |
หมู่ที่ 13 ห้วยไคร้ |
623 |
626 |
1,249 |
หมู่ที่ 14 ขุนสรวย |
384 |
370 |
754 |
หมู่ที่ 15 แม่โมงเย้า |
212 |
182 |
394 |
หมู่ที่ 16 แม่ย่านำ |
298 |
303 |
601 |
หมู่ที่ 17 ผาแดงหลวง |
251 |
204 |
455 |
หมู่ที่ 18 ห้วยกล้า |
277 |
261 |
538 |
หมู่ที่ 19 จู้จี้ |
497 |
458 |
955 |
หมู่ที่ 20 เลาลี้ |
574 |
588 |
1,162 |
หมู่ที่ 21 ห้วยน้ำอุ่น |
333 |
288 |
621 |
หมู่ที่ 22 มังกาล่า |
229 |
215 |
444 |
หมู่ที่ 23 ปางกุเส็ง |
267 |
250 |
517 |
หมู่ที่ 24 ปางกลาง |
298 |
231 |
529 |
หมู่ที่ 25 ใหม่พัฒนา |
256 |
247 |
503 |
หมู่ที่ 26 ดอยช้างลีซู |
345 |
417 |
762 |
หมู่ที่ 27 ดอยช้างใหม่ |
600 |
569 |
1,169 |
รวม |
13,123 |
12,529 |
25,652 |
๔. สภาพสังคม
๔.๑ การศึกษา
ตารางแสดงระดับการศึกษาของประชากร ปี ๒๕64 ของตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ระดับการศึกษา |
เพศ |
จำนวน |
||||
ชาย |
ร้อยละ |
หญิง |
ร้อยละ |
คน |
ร้อยละ |
|
ไม่เคยศึกษา |
๑,๓๔๖ |
22.22 |
๑,๕๘๘ |
25.88 |
2,934 |
24.06 |
อนุบาล/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
417 |
6.88 |
374 |
6.09 |
791 |
6.49 |
ต่ำกว่าประถมศึกษา |
614 |
10.14 |
636 |
10.36 |
1,250 |
10.25 |
จบประถมศึกษา (ป๔, ป.๖, ป.๗) |
๒,๓๕๗ |
38.91 |
๑,๙๗๑ |
32.12 |
4,328 |
35.49 |
มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑-๓) |
202 |
3.34 |
241 |
3.93 |
443 |
3.63 |
มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๔-๖,ม.ศ.๔-๖,ปวช.) |
๘๒๒ |
13.57 |
๘๗๕ |
14.26 |
1,697 |
13.92 |
อนุปริญญา หรือเทียบเท่า |
๙๕ |
1.57 |
๑๐๔ |
1.69 |
199 |
1.63 |
ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า |
๑๙๗ |
3.25 |
๓๔๑ |
5.56 |
538 |
4.41 |
สูงกว่าปริญญาตรี |
๗ |
0.12 |
๗ |
0.11 |
14 |
0.12 |
รวม |
6,057 |
๑๐๐.๐๐ |
6,137 |
๑๐๐.๐๐ |
12,194 |
๑๐๐.๐๐ |
ตารางแสดงข้อมูลจำนวนนักเรียน สถานะพื้นที่และระยะห่างของสถานศึกษากับที่ตั้งอำเภอแม่สรวย
ที่ |
โรงเรียน |
จำนวนนักเรียน (เฉพาะ อ.1-ป.6) |
เปิดสอนระดับ |
พื้นที่ |
ระยะทาง (กม.) |
1 |
โรงเรียนบ้านวาวี |
626 |
อ.1 – ป. 6 |
พิเศษ |
53 |
2 |
โรงเรียนบ้านปางกิ่วฯ |
83 |
อ.1 – ป. 6 |
พิเศษ |
67 |
3 |
โรงเรียนบ้านดอยช้าง |
495 |
อ.1 – ม. 3 |
พิเศษ |
36 |
4 |
โรงเรียนบ้านห้วยมะซาง |
267 |
อ.1 – ป. 6 |
พิเศษ |
23 |
5 |
โรงเรียนบ้านทุ่งพร้าว |
176 |
อ.1 – ม. 3 |
พิเศษ |
19 |
6 |
โรงเรียนบ้านแสนเจริญ |
62 |
อ.1 – ป. 6 |
พิเศษ |
14 |
7 |
โรงเรียนบ้านห้วยน้ำเย็น |
191 |
อ.1 – ม. 3 |
พิเศษ |
28 |
8 |
โรงเรียนโป่งกลางน้ำฯ |
281 |
อ.1 – ม. 3 |
พิเศษ |
41 |
9 |
โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ |
309 |
อ.1 – ม. 3 |
พิเศษ |
27 |
10 |
โรงเรียนบ้านขุนสรวย |
85 |
อ.1 – ป. 6 |
พิเศษ |
49 |
11 |
โรงเรียนแม่โมงเย้า |
70 |
อ.1 – ป. 6 |
พิเศษ |
65 |
12 |
โรงเรียนบ้านผาแดงหลวง |
43 |
อ.1 – ป. 6 |
พิเศษ |
41 |
13 |
โรงเรียนบ้านห้วยกล้า |
64 |
อ.1 – ป. 6 |
พิเศษ |
31 |
14 |
โรงเรียนดอยเวียงวิทยา |
116 |
อ.1 – ป. 6 |
พิเศษ |
39 |
15 |
โรงเรียนบ้านเลาลี |
190 |
อ.1 – ป. 6 |
พิเศษ |
58 |
16 |
โรงเรียนบ้านมังกาล่า |
94 |
อ.1 – ป. 6 |
พิเศษ |
61 |
รวม |
3,152 |
ที่มา : รายงานจำนวนนักเรียนที่ของสถานศึกษาประจำปีงบประมาณ 2564 ข้อมูล ณ วันที่ 08 กรกฎาคม 2564
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลวาวี 12 ศูนย์
ที่ |
ชื่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
หมู่ที่ |
จำนวนนักเรียน |
1 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวาวี |
1 |
77 |
2 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปางกิ่ว |
2 |
23 |
3 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดอยช้าง |
3 |
88 |
4 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดอยล้าน |
4 |
27 |
5 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยมะซาง |
5 |
31 |
6 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยขี้เหล็กใหม่ |
6 |
19 |
7 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งพร้าว |
7 |
36 |
8 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแสนเจริญ |
10 |
14 |
10 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโป่งกลางน้ำ |
12 |
45 |
11 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยไคร้ |
13 |
62 |
12 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านขุนสรวย |
14 |
21 |
13 |
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปางกลาง |
24 |
16 |
รวมทั้งหมด |
459 |
ข้อมูล กศน. ตำบลวาวี
ที่ |
ชื่อ กศน. |
หมู่ที่ |
จำนวนนักเรียน |
1 |
กศน. บ้านใหม่พัฒนา |
25 |
14 |
สถานศึกษาเอกชนที่สอนด้านภาษา (ภาษาจีน)
ชื่อสถานศึกษา |
ที่ตั้ง |
หมายเหตุ |
1.โรงเรียนกวงฟูวิทยาคม |
บ้านวาวี |
|
2.โรงเรียนเมตตาสอนภาษาจีน |
บ้านห้วยน้ำเย็น |
|
3.โรงเรียนหุ่ยชุมพอกวงซุง |
บ้านปางกิ่ว |
|
4.โรงเรียนจีนเซียงเหมียว |
บ้านดอยช้าง |
|
5.โรงเรียนกวางควา |
บ้านดอยช้าง |
|
6.โรงเรียนอี้ถัง |
บ้านเลาลี |
|
7.โรงเรียนบ้านมังกาล่า |
บ้านมังกาล่า |
๔.๒ สาธารณสุข
ตำบลวาวีมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 5 แห่ง ดังนี้
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวาวี
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอยช้าง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งพร้าว
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโป่งกลาง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไคร้
๔.๕ การสังคมสงเคราะห์
ตารางแสดงจำนวนผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแยกตามช่วงอายุ ปีงบประมาณ 2562-2564
ช่วงอายุ |
ปีงบประมาณ 2562 |
ปีงบประมาณ 2563 |
ปีงบประมาณ 2564 |
|
จำนวน (คน) |
จำนวน (คน) |
จำนวน (คน) |
||
60-69 ปี |
1,435 |
1,493 |
1517 |
|
70-79 ปี |
511 |
547 |
653 |
|
80-89 ปี |
131 |
134 |
194 |
|
90 ปีขี้นไป |
14 |
16 |
20 |
|
รวม |
2,091 |
2,190 |
2,384 |
ประเภท |
ปีงบประมาณ 2562 |
ปีงบประมาณ 2563 |
ปีงบประมาณ 2564 |
|||
จำนวน |
งบประมาณ |
จำนวน |
งบประมาณ |
จำนวน |
งบประมาณ |
|
ผู้สูงอายุ |
2,091 |
1,337,500 |
2,190 |
1,401,900 |
2,321 |
1,516,100 |
ผู้พิการ |
585 |
468,000 |
604 |
495,800 |
629 |
513,200 |
ผู้ป่วยเอดส์ |
59 |
29,500 |
45 |
22,500 |
49 |
24,500 |
รวม |
2,735 |
1,835,000 |
2,839 |
1,920,200 |
2,999 |
2,053,800 |
ที่มา : งานพัฒนาชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลวาวี ข้อมูล ณ วันที่ 08 กรกฎาคม ๒๕64
๔.๕ การสังคมสงเคราะห์
ตารางแสดงจำนวนผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแยกตามช่วงอายุ ปีงบประมาณ 2562-2564
ช่วงอายุ |
ปีงบประมาณ 2562 |
ปีงบประมาณ 2563 |
ปีงบประมาณ 2564 |
|
จำนวน (คน) |
จำนวน (คน) |
จำนวน (คน) |
||
60-69 ปี |
1,435 |
1,493 |
1517 |
|
70-79 ปี |
511 |
547 |
653 |
|
80-89 ปี |
131 |
134 |
194 |
|
90 ปีขี้นไป |
14 |
16 |
20 |
|
รวม |
2,091 |
2,190 |
2,384 |
ประเภท |
ปีงบประมาณ 2562 |
ปีงบประมาณ 2563 |
ปีงบประมาณ 2564 |
|||
จำนวน |
งบประมาณ |
จำนวน |
งบประมาณ |
จำนวน |
งบประมาณ |
|
ผู้สูงอายุ |
2,091 |
1,337,500 |
2,190 |
1,401,900 |
2,321 |
1,516,100 |
ผู้พิการ |
585 |
468,000 |
604 |
495,800 |
629 |
513,200 |
ผู้ป่วยเอดส์ |
59 |
29,500 |
45 |
22,500 |
49 |
24,500 |
รวม |
2,735 |
1,835,000 |
2,839 |
1,920,200 |
2,999 |
2,053,800 |
ที่มา : งานพัฒนาชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลวาวี ข้อมูล ณ วันที่ 08 กรกฎาคม ๒๕64
๕. ระบบบริการพื้นฐาน
๕.๑ การคมนาคมขนส่ง
- ถนนลาดยางแอสฟัสติกสายบ้านตีนดอย-บ้านใหม่หมอกจ๋าม ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร
- ถนนลาดยางแอสฟัสติกสายบ้านแสนเจริญ-ดอยช้าง ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร
- ถนนลาดยางแอสฟัสติกสายบ้านดอยช้าง–ห้วยส้านพลับพลา ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร
- ถนนลาดยางแอสฟัสติกสายบ้านห้วยไคร้–บ้านดอยช้าง ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร
- ถนนลูกรังบ้านแสนเจริญ–บ้านทุ่งพร้าว ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร
- ถนนลูกรังบ้านโป่งกลางน้ำ–บ้านขุนสรวย–บ้านหลวง อ.แม่อาย เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 39 กิโลเมตร
- ถนนบ้านวาวี-บ้านปางกิ่ว-บ้านห้วยชมพู ดอยกาดผี ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร
- ถนนบ้านโป่งกลางน้ำ(โป่งลีวู)-บ้านมังกาล่า-แม่โมงเย้า ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร
- ถนนบ้านห้วยน้ำเย็น-บ้านห้วยกล้า-บ้านใหม่พัฒนา-บ้านดอยช้างระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร
๕.๒ การไฟฟ้า
ไฟฟ้ามีใช้ 26 หมู่บ้าน บริการไม่ถึง 1 หมู่บ้านหลัก และหย่อมบ้านบริวาร 32 หย่อมบริวาร
๕.๓ การประปา
ประชาชนมีน้ำประปาใช้ทุกหมู่บ้าน โดยเป็นทุกแห่งเป็นระบบประปาภูเขา
๕.๔ โทรศัพท์
โทรศัพท์พื้นฐาน ครอบคลุมถนนสายหลักในพื้นที่ทั้งหมด แต่ในหมู่บ้านบริวารนั้นยังไม่ครอบคลุมในการบริการโครงข่ายสัญญาณระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบล ยกเว้นบ้านผาแดงหลวง ขุนสรวย มังกาล่า แม่โมงเย้า
๕.๕ ระบบโลจิสติกส์ (Logistircs) หรือการขนส่ง
ในเขตตำบลวาวี อยู่ในเขตการบริการของไปรษณีย์แม่สรวย ซึ่งจะมีการจัดส่งวัสดุ ครุภัณฑ์ ตามตารางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์สาขาแม่สรวย
๖. ระบบเศรษฐกิจ
๖.๑ การเกษตร
ดอยวาวีเป็นพื้นที่สูงด้านเทือกเขาผีปันน้ำ สูงจากระดับน้ำทะเล ๑,๗๐๐ เมตร ทิศตะวันตกบริเวณ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย พืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ กาแฟ ชา เกาลัด แมคคาเดเมีย ข้าวโพด โดยมี "กาแฟวาวี" แบรนด์กาแฟชื่อดังระดับประเทศ เป็นสินค้าส่งออกที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก สำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ "ชาอู่หลง ก้านอ่อนเบอร์ ๑๒” ที่หอมกรุ่น รสชาตินุ่ม และพื้นที่บ้านวาวีถือว่าเป็นแหล่งปลูกชาอินทรีย์ที่มีชื่อของจังหวัดเชียงรายอีกแหล่งหนึ่ง มีการผลิตชาส่งออกไปยังเมืองจีน และยังเป็นแหล่งปลูกชาอู่หลงแห่งแรกในประเทศไทย นอกจากนั้นยังมีชาพื้นเมืองสายพันธุ์ "อัสสัม" ชาสายพันธุ์ไต้หวันอย่าง "ชิง ชิง" เบอร์ ๑๒ ,๑๓ ปลูกกระจายตัวตามเทือกเขาแถบนี้ โดยเฉพาะที่บ้านใหม่พัฒนาได้พบต้น "ชาพันปี" ที่มีเส้นรอบวงลำต้น กว่า ๑๕๐ เซนติเมตร สูงถึง ๒๐ เมตร เป็นจุดหนึ่งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวมาแวะชม
ตารางแสดงข้อมูลด้านการเกษตรตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ชนิดพืช |
จำนวน |
|||
เกษตรกร(คน) |
ร้อยละ |
พื้นที่(ไร่) |
ร้อยละ |
|
กาแฟ |
๙๖๕ |
๑๓.๖๘ |
๘,๖๔๓ |
๘.๙๓ |
ชา |
๖๘๔ |
๙.๗๐ |
๑๔,๘๒๔ |
๑๕.๓๒ |
มะคาเดเมีย |
๓๑๕ |
๔.๔๗ |
๓,๙๔๕ |
๔.๐๘ |
ยาพารา |
๒๓๑ |
๓.๒๗ |
๔,๓๕๗ |
๔.๕๐ |
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ |
๒,๓๘๔ |
๓๓.๘๐ |
๓๔,๔๒๙ |
๓๕.๕๘ |
ข้าวไร่ |
๑,๘๗๒ |
๒๖.๕๔ |
๒๓,๖๔๒ |
๒๔.๔๓ |
ปาล์มน้ำมัน |
๒๖ |
๐.๓๗ |
๒๘๑ |
๐.๒๙ |
สับปะรด |
๑๔ |
๐.๒๐ |
๘๘ |
๐.๐๙ |
ลิ้นจี่ |
๕๖๐ |
๗.๙๔ |
๖,๕๔๓ |
๖.๗๖ |
องุ่น |
๓ |
๐.๐๔ |
๖.๕๐ |
๐.๐๑ |
สตอเบอรี่ |
2 |
0.027 |
7.00 |
0.03 |
ปัญหาการทำการเกษตรบนที่สูง
เนื่องจากตำบลวาวีเป็นภูเขาและที่ราบเชิงหุบเขา จึงต้องคำนึงถึงแหล่งต้นน้ำลำธารเป็นอย่างมาก ควรรักษา และทำนุบำรุงป่าต้นน้ำไว้ให้ดี และในกรณีที่ป่าต้นน้ำถูกทำลายไปแล้ว ก็จะต้องรีบปลูกป่าขึ้นมาทดแทน ให้เร็วที่สุด เพื่อจะทำให้ต้นน้ำลำธารฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ และจะสามารถอาศัยใช้น้ำได้ในอนาคต ในที่ลาดชันมากๆ และที่ดินไม่ดี ควรพิจารณาปลูกไม้ป่า หรือไม้ผลบางชนิดที่ทนทาน เช่น บ๊วย ส่วนในที่ซึ่งมีความลาดชันปานกลาง ถึงลาดชันน้อย ก็จะเหมาะสำหรับไม้ผล และพืชอายุสั้นต่างๆ เช่น ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ พืช ไร่ ตลอดจนพืชสมุนไพร เนื่องจากที่สูงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ดังนั้นการทำการเกษตรบนที่สูง จึงควรทำด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ การใช้สารเคมีต่างๆ เช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี และยากำจัดวัชพืชนั้น อาจจะปะปนลงไปในลำห้วย ลำธารต่างๆ ได้โดยง่าย และสารบางชนิดก็อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในน้ำ ซึ่งจะไหลลงมาสู่พื้นที่ต่ำ และลงสู่แม่น้ำในที่สุด ทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกมาก อุปสรรคสำคัญในการจะพิจารณาชนิดของพืชที่จะปลูกในที่นั้นๆ โดยคำนึงถึงเรื่อง สำคัญ ๓ ประการ
๑. ความหนาวเย็นในเดือนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาว
๒. อันตรายจากน้ำค้างแข็ง
๓. แสงแดด และเมฆหมอก
เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การรักษาสมดุลของธรรมชาติ เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ต่ำแล้ว การทำการเกษตรบนที่สูงนับว่า ยังใหม่มาก ดังนั้นที่สูง จึงยังคงมีลักษณะเป็นธรรมชาติอยู่ไม่น้อย และควรพยายามรักษาสมดุลของธรรมชาติไว้ ตัวอย่างหนึ่งในเรื่องนี้ก็คือ การใช้ยาฆ่าแมลงในการเพาะปลูกพืช ถ้าใช้โดยขาดความรู้ทางวิชาการแล้ว ก็จะทำให้แมลงที่เป็นประโยชน์ ตลอดจนตัวห้ำ และตัวเบียน ของแมลงที่เป็นศัตรูต้องสูญสิ้นไป และในที่สุดก็จะต้องใช้ยาฆ่าแมลงมากขึ้นทุกที เป็นผลให้เกิดความเสียหายทั้งในเชิงธุรกิจ และนิเวศวิทยาเป็นอย่างมาก
๖.๒ การประมง
เนื่องจากเป็นพื้นที่สูงและอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จึงทำให้แหล่งทำประมงมีจำกัดนอกจากนี้พื้นที่ตำบลวาวีนั้นไม่เหมาะสำหรับการทำประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจึงมีจำกัด เป็นการเลี้ยงเพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก
๖.๓ การปศุสัตว์
เขตตำบลวาวีมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารเป็นหลักไม่นิยมทำเป็นอาชีพหลัก เนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้นที่ จึงทำให้ไม่มีฟาร์มเลี้ยงสัตว์มากนัก สัตว์ที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ โค กระบือ สุกร ไก่พันธุ์พื้นบ้าน เป็นต้น พื้นที่หมู่บ้านที่มีการเลี้ยงสัตว์ที่มีจำนวนมากบริเวณ หมู่บ้านปางกลาง หมู่ที่ 24 ถือว่าเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงโคกลุ่มใหญ่สุดในพื้นที่ นอกจากนี้ยังเป็นการซื้อมาเพื่อขุนแล้วส่งขายต่อให้พ่อค้าคนกลางต่างถิ่นอีกทอดหนึ่ง สำหรับสัตว์ชนิดอื่นมีการเพราะเลี้ยงตามครัวเรือน แต่ก็มีจำนวนไม่มาก อาทิ โค สุกร และไก่ เกษตรกรยังขาดการนำความรู้ด้านปศุสัตว์มาปรับใช้ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องสุขอนามัยเป็นจำนวนมาก
๖.๔ การบริการ
สถานที่พัก |
ที่อยู่ |
เบอร์โทรศัพท์ |
เลาลีรีสอร์ท |
บ้านเลาลี |
053-760150, 053-760152 |
อุทยานชาวาวี รีสอร์ท |
บ้านวาวี |
|
วาวี รีสอร์ท |
บ้านวาวี |
081 023 1461 |
วาวี สตอเบอรี่ เฮาส์&รีสอร์ท |
บ้านวาวี |
- |
สุวนัยเกสท์เฮ้าส์ |
บ้านดอยช้าง |
- |
บ้านสวนดอยช้าง |
บ้านดอยช้าง |
081-8845845 |
ดอยช้างรีสอร์ท |
บ้านดอยช้าง |
089-9548512 |
ดอยช้างฮิลล์ รีสอร์ท |
บ้านดอยช้าง |
090-3199577 , 093-1171175 |
อาข่าเก็ทเฮ้าส์ รีสอร์ท |
บ้านดอยช้าง |
091-8592785 |
ชาลี รีสอร์ท |
บ้านดอยช้าง |
083-3657367 , 081-9511083 |
สมชายดอยช้าง แคมป์ปิ้ง |
บ้านดอยช้าง |
090-9891360 |
YAYO FARM |
บ้านดอยช้าง |
093-3070898 |
ครัวอาข่าดอยช้าง |
บ้านดอยช้าง |
081-1661455 |
วัน คอฟฟี่ |
บ้านดอยช้าง |
- |
Doi Chang Coffee Farm House |
บ้านดอยช้าง |
090-4655956 |
The bc2 |
บ้านดอยช้าง |
|
JADAE HOUSE |
บ้านดอยช้าง |
083-2655916 |
Leehu Coffee Farm |
บ้านดอยช้าง |
095-2360997 |
Goo Glamper |
บ้านดอยล้าน |
098-2460997 |
มูลาชูว์ |
บ้านดอยล้าน |
|
Tramont café and glamping |
บ้านดอยล้าน |
082-1829781 |
10 แสน วิว(ARRON) |
บ้านดอยล้าน |
|
MULA Coffee |
บ้านดอยล้าน |
|
Camp Doi Chang |
บ้านดอยล้าน |
082 496 5769 |
ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเชียงราย 2 (เกษตรที่สูงดอยช้าง) |
ตู้ปณ.5 ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย 57180 |
0-5360-5932 , 0-5360-5941 โทรสาร 0-5360-5935 |
ญาณาวิวโป่ง |
บ้านโป่งกลางน้ำ |
ร้านกาแฟ ร้านอาหาร |
ที่อยู่ |
เบอร์โทรศัพท์ |
Bluekoff |
บ้านดอยช้าง |
081 979 9565 |
DOLCHANG COFFEE FARM |
บ้านดอยช้าง |
090-4655956 |
ครัวอาข่าดอยช้าง |
บ้านดอยช้าง |
081-1661455 |
ครัวเฟยเทียนดอยช้าง |
บ้านดอยช้าง |
095 561 7198 |
JA DAE COFFEE |
บ้านดอยช้าง |
083-2655916 |
YAYO coffee |
บ้านดอยช้าง |
093-3070898 |
The bc2 |
บ้านดอยช้าง |
|
บ.เอเลฟ๊านเต้ คอฟฟี่ 888 จำกัด |
บ้านดอยช้าง |
0929519539 |
กาแฟดอยหมอก DOIMORK COFFEE |
บ้านดอยช้าง |
|
Abu Farm Coffee |
บ้านดอยช้าง |
|
A’li’o |
บ้านดอยช้าง |
|
Abonzo |
บ้านดอยช้าง |
|
U Garden |
บ้านดอยช้าง |
097 339 9628 |
ร้านมีนอง |
บ้านห้วยขี้เหล็กเก่า |
|
อาข่าวิว |
บ้านแสนเจริญ |
|
มูลาชูว์ Mu La Zu Cafe |
บ้านดอยล้าน |
๖.๕ การท่องเที่ยว
ดอยวาวี
เป็นหมู่บ้านที่ทหารกองทัพที่ 5 สังกัดกองพล 93 อพยพเข้ามาลงหลักปักฐานในช่วงเวลาใกล้เคียงกับที่ดอยแม่สลอง เมื่อราว พ.ศ.2504 หมู่บ้านวาวีเป็นหมู่บ้านเล็กกว่าหมู่บ้านสันติคีรี บนดอยแม่สลอง แต่ยึดอาชีพปลูกชาพันธุ์พื้นเมืองมาก่อน เนื่องจากละแวกดอยวาวี มีชาป่าขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป ชาป่าเป็นชาพันธุ์พื้นเมือง หรือที่เรียกว่า ชาพันธุ์อัสสัม คนเหนือนำไปหมัก ทำเมี่ยง หรือไปชงเป็นชาแดง แต่ไม่หอมเท่าชาอู่หลง และให้ผลผลิตไม่ดี อีกทั้งตั้งอยู่บนดอยห่างไกล ผลผลิตเมื่อนำออกสู่ตลาด จึงมีราคาสูง ส่งขายสู้คู่แข่งไม่ได้ ชาววาวีไม่น้อย จึงหันไปทำสวนผลไม้ ได้แก่ ลิ้นจี่และส้ม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ชาพันธุ์ชิงชิง และชาเบอร์ 12 จากไต้หวันได้ถูกนำมาปลูกบนดอยแม่สลอง เพื่อผลิตเป็นชาอู่หลง และได้รับความนิยม ชาวบ้านบนดอยวาวี จึงเริ่มหันมาปลูกชาพันธุ์ใหม่แทนพันธุ์พื้นเมืองกันมากขึ้น
ชิมชา บริเวณหมู่บ้านวาวี มีร้านจำหน่ายชา คือร้านใบชาศิริภัณฑ์ เจ้าของเป็นชาวจีนฮ่อ ที่มีอัธยาศัยดี ผู้มาเยือนมักใช้ร้านชาแห่งนี้เป็นที่พักผ่อน จิบน้ำชา และสอบถามข้อมูลท่องเที่ยวในละแวกดอยวาวี ชาอู่หลงจากดอยวาวีมีกลิ่นหอม แต่มีรสฝาดกว่าชาที่ดอยแม่สลองเล็กน้อย สวนชาของตำบลวาวี ซึ่งว่า เป็นการปลูกชาครั้งแรกในประเทศไทย เริ่มต้นที่ดอยวาวีแห่งนี้ก่อนเป็นที่แรก และยังมีต้น ชาพันปี อยู่ที่กลางป่าในเขตบ้านใหม่พัฒนา ขนาด 3 คน โอบ และชม สวนส้มพันธุ์สายน้ำผึ้งก่อนเดินทางไปบ้านวาวีเพื่อ ชมวิถีชีวิตชนเผ่า ที่มีความเป็นอยู่อย่างสุขสงบอยู่รวมกันอย่างสมานฉันท์ เอื้ออาทรต่อกันทั้งหมด 8 ชนเผ่า และมีโรงเรียนสอนภาษาจีนชื่อ โรงเรียนกวางฟูวิทยาคม ตั้งอยู่ที่นี่ เด็กนักเรียนตำบลวาวี สามารถเรียนภาษาจีนได้ฟรีหรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยมาก จึงเป็นแหล่งผลิตผู้ที่มีความรู้ทางด้านภาษาจีนอย่างดีเยี่ยมเพราะมีครูจาก ไต้หวันมาสอนให้โดยเด็กนักเรียนต้องพูดภาษาจีนกันทุกคนภายในโรงเรียน เมื่อเรียนถึงขั้นสูงยังมีทุนให้ไปเรียนต่อยังประเทศไต้หวันอีกด้วย
เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของ อ.แม่สรวย ดอยกาดผีเป็นชะง่อนผาที่ระดับความสูงประมาณ
1,500 ม. อยู่บนเทือกดอยช้าง ในหน้าหนาวอากาศเย็นจัดมองเห็นสายหมอก ก่อตัวที่หุบเบื้องล่าง มีทิวทัศน์สวยงามมาก ไม่แพ้จุดชมทะเลหมอกที่ภูชี้ฟ้า แต่เส้นทางไปค่อนข้างทุรกันดาร ระยะทางเกือบ 20 กม. จากดอยเลาลี ต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น วิธีที่สะดวกที่สุด คือ ติดต่อเลาลี รีสอร์ต ซึ่งมีทัวร์แบบวันเดียว ไปชมทะเลหมอกที่ดอยกาดผี และไร่ชากลางหุบเขาในฤดูหนาว เส้นทางไปยังดอยกาดผี จะผ่านบ้านชาวเขาเผ่าอาข่า และเผ่าเย้า ซึ่งยังคงขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่า หมู่บ้านชนเผ่า บนดอยวาวี มีหมู่บ้านชาวเขาหลายชนเผ่า ซึ่งสามารถไปเยี่ยมชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ได้ครับ อาทิ เผ่าอาข่า (อีก้อ) เผ่าลาหู่ (มูเซอร์) เผ่าไทยใหญ่ เผ่าเย้า ซึ่งสวนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร
ดอยช้าง
ตั้งอยู่บ้านดอยช้าง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย 57180 เดิมเป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าม้ง ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ชนเผ่าลีซอได้อพยพเข้ามาตั้งเป็นหมู่บ้านดอยช้าง ปี พ.ศ.๒๕๒๖ ชนเผ่าอาข่าได้เข้ามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านดอยช้าง ชื่อ "บ้านดอยช้าง" ตั้งขึ้นตามลักษณะของภูเขาที่มีรูปร่างเหมือนช้างแม่ลูกสองเชือก หันหน้าไปทางทิศเหนือ(ตัวจังหวัดเชียงราย) สามารถมองเห็นได้ชัดเจนที่บริเวณโรงเรียนบ้านดอยช้าง มี ผาหัวช้าง สูง 1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นสถานที่ชมทิวทัศน์ที่สวยงาม อากาศเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียส
จากจุดชมวิวดอยช้าง เดินทางต่อมาอีกราว 2 กิโลเมตร ก็จะถึง พุทธอุทยานดอยช้าง ซึ่งมีหลวงพ่ออำนาจ สีลคุโณ ได้มาปฏิบัติธรรมจำพรรษาอยู่ที่นี่ตั้งแต่ปี 2532 เป็นผู้ดูแลรักษาพุทธอุทยาน ดอยช้าง ยังคงสภาพความเป็นธรรมชาติของป่าไม้ไว้ได้อย่างสมบูรณ์มาก มีบึงน้ำขนาดใหญ่อยู่กลางพุทธอุทยาน มีสีเขียวมรกตบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ รายล้อมไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อย มีเสียงกบเขียดร้องอยู่ตลอดเส้นทางเดินไปสู่ ลานพุทธสถานที่มีพระพุทธรูปปางต่างๆไว้ให้ประชาชนได้กราบไหว้สักการะบูชา ถัดจากลานพุทธสถานก็มุ่งตรงสู่ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่มีน้ำไหลเข้าไปในบ่ออยู่ตลอดเวลาไม่เคยเหือดแห้ง และน้ำก็ยังใสสะอาดเย็นฉ่ำตลอดทั้งปี น้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่พุทธอุทยานดอยช้างแห่ง นี้ เป็น 1 ใน 9 ของน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่นำไปกระทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาพุทธมังคลาภิเษก
เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมายุครบรอบ 60 พรรษานอกจากนั้นสามารถชม ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเชียงราย (สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี) และ ชมทะเลหมอกบนดอยกาดผี ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,650 เมตร เล่ากันว่าในช่วงฤดูหนาวสามารถมองเห็นทะเลหมอกได้รอบทิศ 360 องศา ลงจากดอยกาดผีการเดินทางขึ้นสู่ดอยช้าง
การเดินทาง มีเส้นทางขึ้นได้ 3 สาย คือ
- สายอำเภอแม่สรวย -บ้านตีนดอย-แสนเจริญ-ดอยล้าน-ดอยช้าง ระยะทาง 28 กิโลเมตร (จากเชียงราย 75 กิโลเมตร)
- สายห้วยส้าน อ.แม่ลาว -ห้วยส้านลีซอ - เกษตรฯ- ดอยช้าง ระยะทาง 15 กิโลเมตร (จากเชียงราย 75 กิโลเมตร)
- สายอำเภอแม่สรวย-บ้านตีนดอย - ริมเขื่อนแม่สรวย - ทุ่งพร้าว - ห้วยไคร้ - ดอยช้าง ระยะทาง 30 กิโลเมตร (จากเชียงราย 75 กิโลเมตร)
จากเชียงราย เดินทางมาตามทางหลวงหมายเลข 118 ถึงบ้านตีนดอย ก่อนถึง อ.แม่สรวย ราว 10 กิโลเมตร แยกขวาเข้าที่บ้านตีนดอยไปยังบ้านทุ่งพร้าว ระยะทาง 20 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่บ้านดอยช้าง ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร เมื่อมาถึง จุดชมวิวดอยช้าง บริเวณโดยรอบถูกประดับด้วยดอกไม้เมืองหนาวออกดอกสีสดใสตลอดเส้นทางเข้าดอย ช้างจะบานสะพรั่งไปด้วยดอกซากุระ หรือนางพญาเสือโคร่ง สีขาวอมชมพู และได้ตื่นเต้นกับ ดอกท้อ สีชมพูอ่อนและผลท้อที่กำลังเติบโต ลูกเท่าหัวแม่มือที่หาดูได้ยาก และที่นี่เป็นแห่งเดียวของประเทศไทยที่จะมีโอกาสได้เห็น ดอกซากุระขาวบาน ทั่วดอยด้วยเช่นกัน ในบริเวณจุดชมวิวทัศนียภาพโดยรอบสามารถมองเห็นทิวเขาสลับซับซ้อนกันไปอย่าง สวยงาม มองเห็นไปถึงเมืองยองในประเทศพม่า และชัยภูมิที่ตั้งของ อ.เมือง จ.เชียงราย
น้ำตกที่สำคัญและเป็นแหล่งท่องเที่ยวในตำบลวาวี มี จำนวน 4 แห่ง
- น้ำตกห้วยน้ำอุ่น หมู่ที่ 21 บ้านห้วยน้ำอุ่น
- น้ำตกมิโอฉ่อแต๊ะ หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งพร้าว (น้ำตกโป่งสลัม)
- น้ำตกสวนใต้ หมู่ที่ 15 บ้านแม่โมงเย้า
- น้ำตกขุนสรวย หมู่ที่ 14 บ้านขุนสรวย
- น้ำตกห้วยน้ำอุ่น
น้ำตกห้วยน้ำอุ่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่บริเวณใกล้กับที่ทำการวนอุทยานน้ำตกห้วยน้ำอุ่น ในท้องที่ตำบลวาวี อำเภอ
แม่สรวย จังหวัดเชียงราย เป็นน้ำตกที่มีชั้นเดียวที่มีความสวยงาม สูงประมาณ 35เมตร มีน้ำไหลตลอดทั้งปี การเดินทาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 118 (เชียงใหม่ – เชียงราย) จากตัวเมืองแม่สรวยตามเส้นทางที่จะไปเชียงราย ถึงบ้านตีนดอยแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนทางหลวงชนบท (บ้านตีนดอย – บ้านวาวี) เข้าไปอีกประมาณ 25 กิโลเมตรถึงบ้านห้วยไคร้ แล้วเลี้ยวซ้ายตามถนนลูกรังเข้าไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการวนอุทยานน้ำตกห้วยน้ำอุ่น น้ำตกห้วยน้ำอุ่นจะอยู่เลยที่ทำการเข้าไปประมาณ 200 เมตร สามารถเล่นน้ำได้ นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงวนอุทยานน้ำตกห้วยน้ำอุ่น ในรัศมี 50 กิโลเมตรจากที่ทำการวนอุทยาน ได้แก่ เขื่อนแม่สรวย อยู่ห่างจากที่ทำการวนอุทยานตามเส้นทางสายบ้านตีนดอย – บ้านวาวี ประมาณ 15 กิโลเมตร น้ำตกมิโอฉ่อแต๊ะ ถ้ำแม่สรวย วนอุทยานชาพันปี ยอดดอยช้าง น้ำตกขุนกรณ์
- น้ำตกมิโอฉ่อแต๊ะ
ตั้งอยู่ท้องที่บ้านทุ่งพร้าว หมู่ที่ 7 ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ลาวฝั่งซ้าย ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย น้ำตกมิโอฉ่อแต๊ะ เป็นน้ำตกที่มีความสวยงาม มีจำนวนถึง 9 ชั้นโดยในจำนวนทั้ง 9 ชั้นนี้ มีอยู่ถึง 4 ชั้นที่มีความสวยงามมาก แต่ละชั้นสูงประมาณ 30-50 เมตร มีความยาวรวมจากชั้นแรกจนถึงชั้นสุดท้ายยาวประมาณ 500 เมตร มีปริมาณน้ำที่ไหลตกมากตลอดปี แม้ในช่วงเดือน มีนาคม-เมษายนก็ตาม สภาพป่าโดยรอบเป็นป่าดิบเขาที่มีความอุดมสมบูรณ์ สภาพโดยรอบจึงมีความร่มรื่น และความชื้นสูง มีนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชมเป็นประจำโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ วนอุทยานน้ำตกมิโอฉ่อแต๊ะ มีเนื้อที่ประมาณ 3,500 ไร่ ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2549
๖.๖ อุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมในพื้นที่วาวีมีสองกลุ่มใหญ่คือ กลุ่มผลิตกาแฟ รองลงมาคือกลุ่มผลิตชา ซึ่งมีความโดดเด่นเป็นสินค้าขึ้นชื่อของตำบลวาวี เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับระดับประเทศ โดยเฉพาะกาแฟบ้านดอยช้างถือว่าเป็นแหล่งผลิตกาแฟเกรดพรีเมียมของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของสหภาพยุโรป (EU) โดยมีแหละผลิตเมล็ดกาแฟคั่วขนาดใหญ่ในพื้นที่ โดยมีพื้นที่ปลูกกาแฟ จากข้อมูลผู้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานการเกษตรอำเภอแม่สรวย จำนวน 8,643 ไร่ ผลผลิตที่มีการป้อนเข้าสู่โรงงานกาแฟ อยู่ที่ประมาณ 2,000 ตัน/ปี โรงงานผลิตกาแฟในพื้นที่ ประกอบด้วย
- บริษัท กาแฟดอยช้าง จำกัด เป็นบริษัทที่เข้ามามีบทบาทในการแปรเปลี่ยนเป็นพื้นที่เพาะปลูกต้นกาแฟ อราบิก้าสายพันธุ์คุณภาพบนพื้นที่ตำบลวาวี จนสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในระดับโลก กาแฟดอยช้างได้รับการรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของสหภาพยุโรป(EU) ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2558 โดยบริษัทกาแฟดอยช้างได้พัฒนากระบวนการผลิตมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี จนได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ว่าเป็นกาแฟชนิดพิเศษคุณภาพสูง (Specialty Coffee) โดยการดำเนินการจากความร่วมมือของเกษตรกรในพื้นดอยช้างมุ่งเน้นผลิตกาแฟคุณภาพ และมีมาตรฐาน ขณะเดียวกันได้จัดตั้งบริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ ออริจินอล จำกัด เพื่อลงทุนในระบบการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวแบบเต็มรูปแบบ (Post Harvest Processing)ครอบคลุมถึงระบบการคั่วกาแฟและบรรจุภัณฑ์ เพื่อส่งมอบสินค้าให้บริษัทในเครือดำเนินการจัดจำหน่าย ในช่วงแรกๆการจัดจำหน่ายกาแฟแพร่หลายได้เน้นทำตลาดต่างประเทศ ทั้งในประเทศแถบทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ส่วนตลาดทวีปเอเชียก็ได้ทำมาตั้งแต่ช่วงเริ่มก่อตั้งบริษัทฯ และกาแฟดอยช้างก็ได้มีผู้จัดจำหน่ายทั้งรูปแบบการร่วมทุนและตัวแทนจำหน่ายในหลายภูมิภาคต่างๆ ของโลก เพื่อให้การขยายตลาดต่างประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นในปี พ.ศ. 2549 จึงได้จัดตั้งบริษัทขึ้นที่ประเทศแคนาดาโดยร่วมมือกับธุรกิจชาวแคนาดาเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายกาแฟดอยช้างในตลาดสากล แต่เนื่องจากตลาดมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในปัจจุบัน บริษัท ดอยช้าง คอฟฟี่ คัมปานี (แคนาดา) จึงเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้ากาแฟดอยช้างในทวีปอเมริกาเหนือและประเทศสหราชอาณาจักรเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีตัวแทนจำหน่ายสินค้ากาแฟดอยช้างและตัวแทนบริหารระบบแฟรนไชส์กระจายอยู่มากกว่า 10 ประเทศในภูมิภาคต่างๆ ของโลก
- บริษัท เบเช คอฟฟี่ จำกัด บอกว่า ปัจจุบัน มีพื้นที่ปลูกกาแฟบนดอยช้างประมาณ 1,000 ไร่ พื้นที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 1,100-1,250 เมตร ปีที่ผ่านมาได้ผลผลิตประมาณ 18,000 กิโลกรัม โดยเน้นผลิตเป็นเมล็ดกาแฟคั่วเพื่อจำหน่ายให้เอกชนรายใหญ่ 4 ราย เนื่องจากไม่ถนัดเรื่องการตลาด
๖.๗ การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
แหล่งสถาบันการเงิน
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส) สาขาวาวี
- สหกรณ์ออมทรัพย์บ้านวาวี
- สหกรณ์การเกษตรศุภนิมิต ตำบลวาวี (บ้านห้วยน้ำเย็น)
- มูลนิธิศุภนิมิต (บ้านทุ่งพร้าว)
ตารางแสดงกลุ่มวิสาหกิจชุมแยกรายหมู่บ้านและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเขตตำบลวาวี
กลุ่มวิสาหกิจ |
หมู่ที่ |
|||||||||||||||||
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
8 |
10 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
25 |
26 |
27 |
|
กาแฟ |
22 |
3 |
1 |
4 |
1 |
3 |
||||||||||||
ชา |
4 |
1 |
2 |
1 |
1 |
|||||||||||||
บ๊วย |
1 |
|||||||||||||||||
แมคคาเดเมีย |
1 |
1 |
||||||||||||||||
สตรอเบอรี่ |
1 |
|||||||||||||||||
แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร |
3 |
1 |
||||||||||||||||
กลั่นและจำหน่ายสุรา |
||||||||||||||||||
อาหารพื้นบ้านชนชาติพันธ์ |
1 |
|||||||||||||||||
งานหัตถกรรม |
2 |
|||||||||||||||||
บริการท่องเที่ยว |
1 |
1 |
1 |
2 |
||||||||||||||
พืชไร่ พืชสวน |
2 |
1 |
1 |
1 |
||||||||||||||
ปุ๋ย |
||||||||||||||||||
เลี้ยงสัตว์ |
||||||||||||||||||
รวมกลุ่มส่งเสริมอาชีพ |
1 |
1 |
1 |
|||||||||||||||
ธุรกิจปั้มน้ำมัน |
1 |
|||||||||||||||||
ปลูกถั่วอินคา |
1 |
แหล่งข้อมูล : ฐานข้อมูลวิสาหกิจชุมชน สำนักงานเกษตรอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ขัอมูล ณ เดือน มิถุนายน 2562
๖.๘ แรงงาน
สถานการณ์แรงงานในพื้นที่ แรงงานภาคเกษตรกรรมถือว่าซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดคือเป็นร้อยละ ๙๐ ของแรงงานทั้งสิ้น จะเป็นแรงงานจากภาคครัวเรือน ส่วนในภาคอุตสาหกรรมก็ใช้แรงงานจากคนท้องถิ่นเช่นกัน
- ศาสนาประเพณีวัฒนธรรม
7.๑ การนับถือศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ รองลงมาคือ นับถือผี ศาสนาพุทธและอิสลาม ตามลำดับ
7.๒ ประเพณีและงานประจำปี
- งานเทศกาลชิมชาวาวีรสดีกาแฟดอยช้าง จัดประมาณช่วงวันที่ 27 ธันวาคม-1 มกราคม ของทุกปี
- งานประเพณีของชนเผ่าที่สำคัญได้แก่ พิธีโล้ชิงช้า พิธีขึ้นบ้านใหม่ พิธีทำประตูบ้าน พิธีทำบุญหมู่บ้าน ฯลฯ
- งานกินข้าวใหม่ 8 ชนเผ่า