จุดอ่อน / จุดแข็ง
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
ในการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา จะต้องมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของท้องถิ่น ดำเนินการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมท้องถิ่น ในระดับหมู่บ้านและทั้งในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรวมทั้งตำบล อำเภอ เนื่องจากในเขตตำบลวาวีนั้นมีหมู่บ้านที่บางส่วนหรือและส่วนใหญ่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) และเขต อปท.ข้างเคียง ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันกับสภาพแวดล้อมภายใต้สังคม
ที่เป็นทั้งระบบเปิดมากกว่าระบบปิดในปัจจุบัน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายใน โดยผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมมีดังนี้
๑. การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ใช้การวิเคราะห์ SWOT Analysis/Demand (Demand Analysis)/Global Demand และ Trend ปัจจัยและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนา อย่างน้อยต้องประกอบด้วย การวิเคราะห์ศักยภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
๑.๑ จุดแข็ง (S : Strength) ขององค์การบริหารส่วนตำบลวาวี
(1) มีพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรหลัก คือ ชา กาแฟและพืชไร่
(2) ตำบลวาวีสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย มีดอยกาดผี เขื่อน
แม่สรวย ดอยช้าง ไร่ชากาแฟ วิถีชีวิตของชนเผ่า
(3) ในตำบลวาวีมีบ้านพัก แบบ Home Stay สามารถต้อนรับนักท่องเที่ยวและจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
(4) มีศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์
(5) มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับทำการเกษตร
(6) ผู้นำให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง รวมถึงมีการประสานการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้มแข็งอย่างลงตัว
๑.๒ จุดอ่อน (W : Weakness)
(1) การพัฒนาการเกษตรยังมีการดำเนินการไม่ครบวงจร กลุ่มอาชีพ กลุ่มเกษตรกรไม่มีการรวมกลุ่มแบบเข้มแข็ง ขาดทักษะการบริหารจัดการทางด้านการตลาด
(2) ประชาชนส่วนใหญ่รายได้ต่ำ การศึกษาน้อย ขาดความรู้ด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่
(3) ยังไม่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ทำให้ควบคุมการสร้างบ้านเรือนไม่ได้
(4) ความผันผวนของธรรมชาติ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม หรือเกิดภัยแล้ง ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร
(5) วัยแรงงานอพยพสู่เมืองกรุงเพื่อมุ่งขายแรงงาน
(6) การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรยังไม่ได้มาตรฐาน
(7) ตำบลวาวีเป็นตำบลที่ห่างจากอำเภอแม่สรวย ประมาณ 50 กิโลเมตร และมีพื้นที่ขนาดใหญ่ แต่ละหมู่บ้านอยู่ห่างกันมาก ยากแก่การสัญจร
(8) เกษตรกรส่วนใหญ่ยากจน มีหนี้สินเรื้อรัง รวมทั้งสารเคมีในร่างกาย
(9) ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะ น้ำเสีย ป่าไม้ ไม่มีสถานที่ทิ้งขยะ ฯลฯ
(10) ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกินและสถานะบุคคล
1.3. โอกาส (O : Opportunities)
(๑) มีพระราชบัญญัติ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน
(๒) ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล
(3) การปฏิรูประบบราชการใหม่ทุกส่วนราชการจะต้องจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมโดยให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของงาน
โดยให้ยึดหลักความพึงพอใจของผู้ที่มาติดต่อราชการ หรือผู้รับบริการ นำมาเป็นตัวชี้วัดในการปรับปรุงระบบงานต่างๆ ซึ่งจะการบริหารงานของภาครัฐมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลสำเร็จในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลได้
(4) รัฐบาลสนับสนุนให้แต่ละท้องถิ่นมีบทบาทในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่ และถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น
(5) ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการจัดกิจกรรมด้านการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ
(6) รัฐบาลมีนโยบายมีเอื้อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงาน เพื่อแก้ไขปัญหาในท้องถิ่นและพัฒนาท้องถิ่นของตน
1.4 อุปสรรค (W : Threats)
(๑) ปัญหาข้อจำกัดของระเบียบกฎหมายที่ทำให้ อปท.ไม่สามารถช่วยเหลือประชาชนได้เต็มที่
(๒) สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ อปท.อย่างเข้มงวด บางครั้งปัญหาไม่ได้เกิดจาก อปท. แต่เป็นปัญหาระเบียบกฎหมายที่ส่วนกลางกำหนดมามีปัญหาในทางปฏิบัติ
(3) การทำการเกษตรยังขาดการทำการเกษตรแบบบูรณาการทำให้ปลูกพืชตามฤดูกาลเท่านั้น
(4) ผลจากการถ่ายโอนภารกิจทำให้มีงาน/หน้าที่เพิ่มขึ้นแต่ไม่มีบุคลากรมารองรับ
(5) บุคลากรมีการเปลี่ยนแปลง โยกย้ายบ่อยครั้ง ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน
(6) ระเบียบกฎหมายในการปฏิบัติงานไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงานและมีข้อจำกัด ส่งผลให้การดำเนินงานล่าช้า